วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พาตีฮะห์ อาลีมาส๊ะ

        

    อาการ ปวดหัว ในเด็ก พบได้ในเด็กวัยเรียน และอาจมีผลต่อเนื่อง ทำให้พ่อแม่ปวดหัวตามไปด้วย เพราะวิตกกังวลและเกรงว่า อาการปวดหัวของลูกอาจมาจากสาเหตุร้ายที่แฝงร้ายเร้นอยู่ในสมอง อาการปวดหัวส่วนใหญ่มักหายได้เองหรือมีอาการดีขึ้น หลังกินยาแก้ปวดและได้นอนพัก อาการปวดมักหายไปเมื่อเด็กหลับ และโดยทั่วไปอาการปวดมักไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น
            สำหรับอาการปวดหัวชนิดรุนแรง มักมีอาการปวดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะปวดได้เกือบตลอดเวลา แม้แต่ในเวลากลางคืนซึ่งเด็กหลับ เมื่อใช้ยาแก้ปวด อาการไม่ดีขึ้น อาจพบอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น ตาเข แขนขาอ่อนแรง อาเจียนพุ่ง ซึมลง 
สาเหตุ
·        อาการปวดหัวในเด็กแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน
·        อาการปวดหัวเฉียบพลันในเด็กส่วนใหญ่มีสาเหตุจากไข้ ความเครียด อุบัติเหตุ และกระทบกระเทือนทางสมอง และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
·        อาการปวดหัวเรื้อรังในเด็กส่วนใหญ่มีความผิดปกติของอวัยวะบนใบหน้า เช่น หูชั้นกลางหรือไซนัสอักเสบ ฟันผุ สายตาผิดปกติ ส่วนน้อยอาจเกิดจากกลุ่มอาการไมเกรน ภาวะเลือดออกในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง
·        อาการปวดหัวจากการกระทบกระเทือนทางสมอง หากไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เด็กหมดสติ อาการปวดหัวมักไม่รุนแรงมาก และมักหายได้เองภายใน 2-3 วัน
·        โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เด็กจะมีอาการไข้ ปวดหัวเฉียบพลัน คอแข็ง และอาจพบอาการชักได้ จัดเป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์

·        เด็กที่มีเนื้องอกในสมอง จะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง และอาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจพบอาการอาเจียนพุ่ง รวมทั้งอาการทางสมอง การใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมองจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค 
การดูแล
·        กรณีอาการปวดหัวไม่รุนแรง และเด็กสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ อาจใช้วิธีเฝ้าติดตามอาการและหาสาเหตุเบื้องต้นก่อน หากหาสาเหตุพบและเป็นสาเหตุที่แก้ไขได้ จะทำให้อาการปวดหัวหายขาดได้
·        เมื่อเด็กมีอาการปวดหัว ไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่ก็ตาม ควรให้นอนพักและให้ยาพาราเซตามอล หากอาการทุเลาลง อาจกล่าวได้ว่าอาการปวดหัวนั้นเป็นชนิดไม่รุนแรง
·        กรณีเด็กได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ควรเฝ้าติดตามอาการทางสมอง โดยเฉพาะอาการปวดหัวรุนแรง อาเจียนพุ่ง และซึมลง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีเลือดออกในสมอง สำหรับการส่งเด็กเพื่อตรวจเอกซเรย์กะโหลกศีรษะและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทันทีหลังเกิดเหตุมักไม่มีประโยชน์ ยกเว้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงในสมอง ซึ่งสังเกตได้จากอาการของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกายของแพทย์
การป้องกัน
·        ควรดูแลสุขภาพกายในเด็ก โดยเฉพาะสุขภาพฟันและสายตา พร้อมกับการดูแลสุขภาพจิต โดยหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
·        หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนของสมอง
·        วัคซีนฮิบ วัคซีนเจอี และวัคซีนนิวโมคอคคัส มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคสมองอักเสบบางชนิดได้ 
เมื่อใดต้องพบแพทย์
·        หากมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ อาจต้องพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน หรือพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตาและความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา
·        หากมีอาการปวดหัวรุนแรง และมีอาการทางสมอง เช่น ซึมลง อ่อนแรง และมีอาการอาเจียนพุ่งร่วมด้วย ควรพบแพทย์โดยเร็ว 
        

    อาการ ปวดหัว ในเด็ก พบได้ในเด็กวัยเรียน และอาจมีผลต่อเนื่อง ทำให้พ่อแม่ปวดหัวตามไปด้วย เพราะวิตกกังวลและเกรงว่า อาการปวดหัวของลูกอาจมาจากสาเหตุร้ายที่แฝงร้ายเร้นอยู่ในสมอง อาการปวดหัวส่วนใหญ่มักหายได้เองหรือมีอาการดีขึ้น หลังกินยาแก้ปวดและได้นอนพัก อาการปวดมักหายไปเมื่อเด็กหลับ และโดยทั่วไปอาการปวดมักไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น
            สำหรับอาการปวดหัวชนิดรุนแรง มักมีอาการปวดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะปวดได้เกือบตลอดเวลา แม้แต่ในเวลากลางคืนซึ่งเด็กหลับ เมื่อใช้ยาแก้ปวด อาการไม่ดีขึ้น อาจพบอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น ตาเข แขนขาอ่อนแรง อาเจียนพุ่ง ซึมลง 
สาเหตุ
·        อาการปวดหัวในเด็กแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน
·        อาการปวดหัวเฉียบพลันในเด็กส่วนใหญ่มีสาเหตุจากไข้ ความเครียด อุบัติเหตุ และกระทบกระเทือนทางสมอง และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
·        อาการปวดหัวเรื้อรังในเด็กส่วนใหญ่มีความผิดปกติของอวัยวะบนใบหน้า เช่น หูชั้นกลางหรือไซนัสอักเสบ ฟันผุ สายตาผิดปกติ ส่วนน้อยอาจเกิดจากกลุ่มอาการไมเกรน ภาวะเลือดออกในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง
·        อาการปวดหัวจากการกระทบกระเทือนทางสมอง หากไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เด็กหมดสติ อาการปวดหัวมักไม่รุนแรงมาก และมักหายได้เองภายใน 2-3 วัน
·        โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เด็กจะมีอาการไข้ ปวดหัวเฉียบพลัน คอแข็ง และอาจพบอาการชักได้ จัดเป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์

·        เด็กที่มีเนื้องอกในสมอง จะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง และอาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจพบอาการอาเจียนพุ่ง รวมทั้งอาการทางสมอง การใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมองจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค 
การดูแล
·        กรณีอาการปวดหัวไม่รุนแรง และเด็กสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ อาจใช้วิธีเฝ้าติดตามอาการและหาสาเหตุเบื้องต้นก่อน หากหาสาเหตุพบและเป็นสาเหตุที่แก้ไขได้ จะทำให้อาการปวดหัวหายขาดได้
·        เมื่อเด็กมีอาการปวดหัว ไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่ก็ตาม ควรให้นอนพักและให้ยาพาราเซตามอล หากอาการทุเลาลง อาจกล่าวได้ว่าอาการปวดหัวนั้นเป็นชนิดไม่รุนแรง
·        กรณีเด็กได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ควรเฝ้าติดตามอาการทางสมอง โดยเฉพาะอาการปวดหัวรุนแรง อาเจียนพุ่ง และซึมลง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีเลือดออกในสมอง สำหรับการส่งเด็กเพื่อตรวจเอกซเรย์กะโหลกศีรษะและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทันทีหลังเกิดเหตุมักไม่มีประโยชน์ ยกเว้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงในสมอง ซึ่งสังเกตได้จากอาการของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกายของแพทย์
การป้องกัน
·        ควรดูแลสุขภาพกายในเด็ก โดยเฉพาะสุขภาพฟันและสายตา พร้อมกับการดูแลสุขภาพจิต โดยหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
·        หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนของสมอง
·        วัคซีนฮิบ วัคซีนเจอี และวัคซีนนิวโมคอคคัส มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคสมองอักเสบบางชนิดได้ 
เมื่อใดต้องพบแพทย์
·        หากมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ อาจต้องพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน หรือพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตาและความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา
·        หากมีอาการปวดหัวรุนแรง และมีอาการทางสมอง เช่น ซึมลง อ่อนแรง และมีอาการอาเจียนพุ่งร่วมด้วย ควรพบแพทย์โดยเร็ว